ตลาดหลักทรัพย์ปิดวันที่ 20 พฤษภา 2563 ที่ระดับ 1,322.20 จุด เพิ่มขึ้น 12.25 จุด (+0.94%) มูลค่าการซื้อขาย 78,863.55 ล้านบาท การซื้อขายหุ้นวันนี้ ดัชนีหุ้นไทยเคลื่อนไหวในแดนบวกตลอดทั้งวัน โดยทำระดับสูงสุดที่ 1,337.01 จุด และทำระดับต่ำสุด 1,300.49 จุด ส่วนหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงวันนี้ เพิ่มขึ้น 974 หลักทรัพย์ ลดลง 502 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 320 หลักทรัพย์
นายวิจิตร อารยะพิศิษฐ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวันนี้ปรับตัวขึ้นในทิศทางดีขึ้น มาตอบรับพัฒนาการทดลองวัคซีนรักษาไวรัสโควิด-19 ที่ได้ผลในเชิงบวก ทำให้เป็นสัญญาณที่ดีในเรื่องการกลับมาเปิดเศรษฐกิจของหลายประเทศ ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันเพิ่ม และช่วยหนุนราคาน้ำมันปรับขึ้นด้วย ผลักดันให้หุ้นที่เคยโดนผลกระทบจากโควิดก็กลับมาปรับตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อย่างหุ้นในกลุ่มโรงแรม เช่น ERW, CENTEL, MINT เป็นต้น
นอกจากนี้ ดัชนีหุ้นไทยได้ขึ้นมาเหนือระดับ 1,300 จุด ทำให้โมเมนตัมตลาดหลักทรพย์ดี และแม้ว่าดัชนีฯที่ระดับเหนือ 1,300 จุด จะเทรด P/E แพงแล้วแต่ก็เป็นระยะสั้น หากนักลงทุนระยะกลางถึงยาวต้องการจะลงทุนก็สามารถรับได้
หลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 หลักทรัพย์ ได้แก่
- BAM มูลค่าการซื้อขาย 4,753.16 ล้านบาท ปิดที่ 24.10 บาท เพิ่มขึ้น 0.60 บาท
- GPSC มูลค่าการซื้อขาย 2,323.71 ล้านบาท ปิดที่ 76.00 บาท เพิ่มขึ้น 2.75 บาท
- BGRIM มูลค่าการซื้อขาย 1,963.61 ล้านบาท ปิดที่ 50.00 บาท เพิ่มขึ้น 2.50 บาท
- ADVANC มูลค่าการซื้อขาย 1,941.77 ล้านบาท ปิดที่ 191.50 บาท เพิ่มขึ้น 2.00 บาท
- MINT มูลค่าการซื้อขาย 1,841.58 ล้านบาท ปิดที่ 17.30 บาท ลดลง 0.70 บาท
ประเด็นพิจารณาการลงทุน
ส.อ.ท. เปิดดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เม.ย.ลดต่ำสุดในรอบ 11 ปี ลุ้นคลายล็อกเฟส 2 ดัน พ.ค.ปรับตัวดีขึ้น ด้านยอดผลิตรถยนต์ลดลง 83.55% ต่ำสุดรอบ 30 ปี ชี้ประชาชนอยู่บ้าน ไม่อยากใช้เงิน โชว์รูมแทบจะไม่มีคนไปซื้อ ห่วงทั้งปีไม่ถึง 1 ล้านคัน
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยไตรมาส 1 ปี 2563 เป็นช่วงเวลาที่สะท้อนผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อการลงทุนในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และการซื้อขายที่อยู่อาศัยอย่างเป็นรูปธรรม โดยภาพรวมชะลอตัวลงทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทาน ซึ่งเป็นการปรับสมดุลของตลาด ลดความเสี่ยงปัญหาอุปทานส่วนเกิน โดยพบว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในช่วงไตรมาส 1 ปี 2563 มีหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์จำนวน 89,024 ยูนิต ลดลงจากไตรมาส 4/62 ประมาณ 16.7% แต่เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 จะเพิ่มขึ้น 2.5% โดยมีมูลค่ารวม 210,294 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 4/62 ที่ 20.6% แต่เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 จะเพิ่มขึ้น 6.4% โดยการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยประเภทห้องชุดมีสัดส่วนใกล้เคียงกับบ้านเดี่ยว แต่มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์บ้านเดี่ยวมีสัดส่วนสูงที่สุด
สถานการณ์หุ้นไทย หลังโควิด-19ซา แนวโน้มดัชนีหุ้นไทย ตลาดหุ้นไทยวันนี้ปรับตัวขึ้นในทิศทางดีขึ้น มาตอบรับพัฒนาการทดลองวัคซีนรักษาไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันเพิ่ม และช่วยหนุนราคาน้ำมันปรับขึ้นด้วย ผลักดันให้หุ้นที่เคยโดนผลกระทบจากโควิดก็กลับมาปรับตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยไตรมาส 1 ปี 2563 เป็นช่วงเวลาที่สะท้อนผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อการลงทุนในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จะเห็นได้ว่า สถานการณ์หุ้นไทยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในทางบวก แต่ปรับตัวอย่างช้าๆ ทำให้คาดคะเนได้ง่าย ว่าค่าปิดตลาดฯจะออกมาเป็นอย่างไร เพื่อสามารถต่อยอดไปลงทุนใน หวยหุ้นไทย